การใช้ประโยชน์

ในตำรายาไทยระบุว่า กฤษณารสขมหอม สุขุม คุมธาตุ บำรุงโลหิตในหัวใจ (อาการหน้าเขียว) บำรุงหัวใจ บำรุงตับปอดให้เป็นปกติ แก้ลมวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด แก้ลมซาง แก้ไข้ อาเจียน ท้องร่วง บำบัดโรคปวดตามข้อ ตำรับยาที่เข้ากฤษณามีหลายชนิด เช่น ตำรายาเด็กในคัมภีร์ปฐมจินดา กล่าวว่ากฤษณาจะเข้ายาแก้ซาง แก้ไข้ แก้พิษ เช่น ยาแดง ยาคายพิษ ยาทาลิ้น ทาแก้เสมหะ ยาแก้ไข และยาล้อมตับดับพิษ ยากวาดแก้ดูดนมมิได้ ยาหอมใหญ่ แก้ซาง แก้ไข้ ยาเทพมงคล ยาสมมติกุมารน้อย ยาสมมติกุมารใหญ่ ยาอินทรบรรจบ ยาแก้ซางเพลิง ยาแก้ท้องเสีย แก้บิดในเด็ก เป็นต้น ส่วนในพระคัมภีร์มหาโชติรัตน์ว่าด้วยโรคระดูสตรี กฤษณา จะเข้ายาบำรุงโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษ เช่น ยาอุดมโอสถน้อย-ใหญ่ ยาเทพรังสิต ยาเทพนิมิต กฤษณาจะเข้ายาบำรุงโลหิต บำรุงธาตุ บำรุงกาม เพื่อให้ตั้งครรภ์ เช่น ยากำลังราชสีห์ ในคัมภีร์ธาตุบรรจบ กฤษณายังเข้ายาเทพประสิทธิ์ ใช้แก้ลม แก้สลบ แก้ชัก ปัจจุบันตำรับยาที่เข้ากฤษณาก็ยังมีอยู่ เช่น ยากฤษณากลั่น แก้ปวดท้อง จุกเสียด แน่น รวมทั้งยาหอมแทบทุกชนิด เช่น ยาหอมตราห้าเจดีย์ ยาหอมตราฤาษีทรงม้า ล้วนแต่มีส่วนผสมของกฤษณาทั้งสิ้น นอกจากกฤษณาจะเข้ายาแก้ซาง ดังปรากฏในตำรายาชื่อมหาเปราะดังกล่าว ยังมีคุณประโยชน์ คือ กฤษณาจะเข้ายากำลังราชสีห์ กินบำรุงโลหิต หรือเข้ายาชื่อแดงใหญ่ แก้สรรพต้อมีพิษ แก้จักษุแดง เป็นต้น ตำรายาสมัยต่อมา ก็ปรากฏตำรายาที่เข้ากฤษณาอีกมากมายหลายชนิด เช่น ตำรายาหอมของนายพันไท หม่อมเจ้ากรรมสิทธิ์ กล่าวถึงการใช้กฤษณาเข้ายาอินทโอสถ แก้ไข แก้สลบ แก้หืด แก้ริดสีดวง แก้ฝีในท้อง จำเริญอาหาร จำเริญธาตุ จำเริญพระชมน์ เป็นต้น

 

 

ในตำราจีน กฤษณาจัดเป็นยาชั้นดี มีรสเผ็ดปนขม ฤทธิ์อ่อน ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน คลื่นไส้อาเจียน รักษาอาการปวดแน่นหน้าอก แก้หอบหืด เสริมสมรรถภาพทางเพศ แก้โรคปวดบวมตามข้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร ปัจจุบันได้นำกฤษณาไปผลิตยารักษา โรคกระเพาะที่ดีที่สุดชนิดหนึ่ง คือ จับเชียอี่

ประโยชน์อย่างอื่นของกฤษณา คือ นำไปทำลูกประคำ และหีบใส่เครื่องเพชร เนื้อไม้ปกติจะใช้ทำเครื่องกลึง แกะสลัก คันธนู หน้าไม้ เรือ เปลือกให้เส้นใยใช้ทำเสื้อผ้า ถุง ย่าม ที่นอน เชือก และกระดาษ

ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ปรากฏหลักฐานการใช้ประโยชน์จากกฤษณามาตั้งแต่สมัยพุทธกาล มักจะใช้จตุชาติสุคนธ์ คือ ของหอมธรรมชาติ 4 อย่าง ได้แก่ กลิ่นของกฤษณา กะลำพัก จันทน์ และดอกไม้ ประพรมในพิธีต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีมงคลถวายพระนามเจ้าชาย สิทธัตถะในปฐมวัย ตอนเหล่ากษัตริย์มัลลราชโปรดให้ตกแต่ง และประพรมพื้นโรงราชสัณฐาคารด้วย จตุชาติสุคนธ์ เพื่ออัญเชิญพระหีบทองน้อยที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเข้าประดิษฐาน หรือในตอนมหาภิเนษกรมน์ กล่าวถึงการประดับพระแท่นบรรทมพระพุทธองค์ด้วยพู่พวงสุคนธกฤษณาอีกด้วย

แปลงทดลองในประเทศ

140x140
ภาคเหนือ
140x140
ภาคกลาง
140x140
ภาคอีสาน
140x140
ภาคใต้

แปลงทดลองต่างประเทศ

140x140
ลาว
140x140
เขมร
140x140
เวียดนาม
140x140
พม่า

จดสิทธิบัตรทั้งในและต่างประเทศ

สิทธิบัตรประเทศไทย เลขที่ : 18985 สิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา เลขที่ : US,7,485,309 B1 สิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา เลขที่ : US,7,803,384 B2 สิทธิบัตรประเทศมาเลเซีย เลขที่ : MY – 146902 – A.

 

วิจัย - พัฒนา – สร้างมาตรฐานโลก

ปรับปรุงสายพันธุ์ คัดแยก – เทคนิค การเก็บผลผลิต การดูแลหลังเก็บผลผลิต วัตถุดิบที่ได้จากการปลูก นำมาสกัด – แยกน้ำมัน – ผลพลอยได้ สร้างมาตรฐานโลก แต่ละสายพันธุ์จากการสกัดน้ำมัน – แยก – กลิ่น – สี – ความเหนียว – ความหอมที่ตลาดต้องการ พัฒนาเครื่องสกัดน้ำมันที่มีคุณภาพมาตรฐานเร็วไว ต้นทุนต่ำ คุณภาพดี มุ่งสู่อุตสาหกรรมส่งออกผู้ผลิตเครื่องหอม สปาร์ เครื่องสำอางต่างประเทศ แนะนำการลงทุนด้านวิชาการ คำปรึกษา สัมมนาไม้กฤษณา ไม้หอมทั่วโลก.

 

ปัจจุบันมีผู้เข้ามาทำธุรกิจไม้หอมจำนวนมาก

ปัญหาก็มากเพิ่มขึ้น การแข่งขันสูง เช่น เพาะกล้า ซื้อไม้ ทำสารต่าง ๆใช้วิจารณญาณให้พิจารณาให้รอบคอบ ศึกษาดูงานธุรกิจให้ชัดเจน ทางบริษัทฯ ไม่มีนโยบายรับจ้างทำสาร และเก็บเงินล่วงหน้าก่อน รวมทั้งขายสาร เพราะกล้าขายเอากำไรจากเกษตรกร บริษัทผลิตและแปรรูป สร้างมูลค่าจากผลิตภัณฑ์จากไม้กฤษณา ส่งออกต่างประเทศ นำเงินตราต่างประเทศ คือ กำไร (ห้ามลอกเลียนแบบ จดสิทธิบัตร)