การตลาดของไม้กฤษณา

การตลาดของกฤษณาในประเทศและต่างประเทศ กว้างใหญ่มากในความต้องการ
การบริโภคกฤษณามีในรูปแบบซื้อเป็นเนื้อไม้กฤษณาที่มีสาร ยิ่งคำยิ่งมีน้ำมัน ยิ่งเป็นชิ้นเดียวใหญ่ก็ยิ่งแพง ชิ้นใหญ่ ๆ แพงๆ นั้นเศรษฐีจะซื้อไปใช้ประดับในวังของต่าง ๆ ในประเทศเจ้าของบ่อน้ำ แต่ไม้กฤษณาชิ้นเล็ก ๆ จะใช้ซอยละเอียดและเผาให้มีกลิ้นหอมในวังสำหรับแขกสำคัญ ส่วนชิ้นไม้ที่มีน้ำมันกฤษณาน้อยจะขายเข้าโรงงาน หรือสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยออกมา ราคาซื้อขายลิตรละหลายแสนบาทจนเกินล้านบาท

น้ำมันหอมระเหยจากกฤษณาจะถูกขายต่อไปถึงผู้ทำน้ำหอม จะใช้เพียงเล็กน้อยก็ปรุงแต่งน้ำหอมธรรมดาให้ดีขึ้น ชี้กที่มีเงินมันจะจดทะเบียนกับผู้ทำน้ำหอมให้ทำน้ำหอมเฉพาะสูตรของคน ไม่ขายให้คนอื่น ชี้กในอาหรับต่างๆ มี หมื่น จึงเป็นตลาดใหญ่ นอกจากนี้กฤษณายังใช้ปรุงแต่งน้ำหอมต่าง ๆ ขายกันทั่วโลก ถ้าผู้หญิงพร้อมใจกันเลิกใช้น้ำหอม จึงจะทำให้กฤษณาขายได้น้อยลง
 

 

น้ำมันหอมจากไม้กฤษณาที่ปลูกในประเทศพม่า เขมร และ ลาว

ในทะเลทรายนั้นมีไรศัตรูมนุษย์ อาศัยเกาะตามขนละเอียดผิวตัวคนอาหรับ เป็นตัวนำเชื้อโรคพวกมัยโคพลาสมาได้ ไรเหล่านี้ไม่แพ้น้ำมันหอมระเหยอื่น ๆ แต่แพ้สารจากกลิ่นน้ำหอมกฤษณา ดังนั้น ตลาดนี้จึงมั่นคงไปยาวนาน ถ้าเมื่อใดคนเลิกใช้น้ำมัน ถ้าอาหรับขายน้ำมันไม่ได้เมื่อนั้นก็จะมีคนซื้อกฤษณาได้น้อยลง

 

 

ตลาดน้ำมันหอมที่ประเทศเยอรมัน

ตลาดน้ำมันหอมในตะวันออกกลาง

ประเทศที่วิจัยพบกลไกการเกิดสาร ลงสาร กฤษณาในเนื้อไม้มีอยู่ 2 ประเทศ คือ ไทยและอินเดียแต่อินเดียเหลือพื้นที่ซึ่งจะนำมาปลูกต้นกฤษณาได้น้อยลง อินโดนีเซียเมื่อเผาป่าปลูกปาล์มก็ทำลายกฤษณาธรรมชาติไปมาก ในไทยพบกฤษณา 3 พันธุ์ ภาคใต้พบกฤษณาพันธุ์มาลัคคา ภาคเหนือและภาคอีสานเป็นพันธุ์เขาใหญ่ (รวมถึงในลาว) และภาคตะวันออกมีพันธุ์จันทบุรี (รวมถึงกัมพูชา) ต้นพันธุ์จะได้จากเมล็ดที่แก่เดือนมิถุนายน ปัญหาคือต้องปลูกนานถึง 4 ปีขึ้นไป จึงจะเริ่มได้ผลผลิต จากการศึกษาค้นคว้าวิจัยมาเป็นเวลา 50 ปี ในแบบโบราณและแบบปัจจุบัน 19 ปี มีโรงงานกลั่น 3 โรงงาน คือ ในประเทศไทย , เขมร และลาว 99% ส่งออกทางตะวันออกกลางทุกประเทศ และประเทศอื่นๆ เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น

กฤษณากับการตลาดในตะวันออกกลาง เป้าหมาย หลัก ออกบู๊โชว์ สินค้า นวัตกรรม กฤษณา คนไทย ให้เห็นว่ามาตรฐาน ระดับสากล (รายแรกของโลก) ชาวตะวันออกมีความสนใจมากในผลิตภัณฑ์ ตามสิทธิบัตรโลก

ตลาดน้ำมันหอมในตะวันออกกลาง น้ำมันจากไม้กฤษณานำไปทำหัวน้ำหอม และผลิตภัณต์อื่นๆอีกมากมาย

แปลงทดลองในประเทศ

140x140
ภาคเหนือ
140x140
ภาคกลาง
140x140
ภาคอีสาน
140x140
ภาคใต้

แปลงทดลองต่างประเทศ

140x140
ลาว
140x140
เขมร
140x140
เวียดนาม
140x140
พม่า

จดสิทธิบัตรทั้งในและต่างประเทศ

สิทธิบัตรประเทศไทย เลขที่ : 18985 สิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา เลขที่ : US,7,485,309 B1 สิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา เลขที่ : US,7,803,384 B2 สิทธิบัตรประเทศมาเลเซีย เลขที่ : MY – 146902 – A.

 

วิจัย - พัฒนา – สร้างมาตรฐานโลก

ปรับปรุงสายพันธุ์ คัดแยก – เทคนิค การเก็บผลผลิต การดูแลหลังเก็บผลผลิต วัตถุดิบที่ได้จากการปลูก นำมาสกัด – แยกน้ำมัน – ผลพลอยได้ สร้างมาตรฐานโลก แต่ละสายพันธุ์จากการสกัดน้ำมัน – แยก – กลิ่น – สี – ความเหนียว – ความหอมที่ตลาดต้องการ พัฒนาเครื่องสกัดน้ำมันที่มีคุณภาพมาตรฐานเร็วไว ต้นทุนต่ำ คุณภาพดี มุ่งสู่อุตสาหกรรมส่งออกผู้ผลิตเครื่องหอม สปาร์ เครื่องสำอางต่างประเทศ แนะนำการลงทุนด้านวิชาการ คำปรึกษา สัมมนาไม้กฤษณา ไม้หอมทั่วโลก.

 

ปัจจุบันมีผู้เข้ามาทำธุรกิจไม้หอมจำนวนมาก

ปัญหาก็มากเพิ่มขึ้น การแข่งขันสูง เช่น เพาะกล้า ซื้อไม้ ทำสารต่าง ๆใช้วิจารณญาณให้พิจารณาให้รอบคอบ ศึกษาดูงานธุรกิจให้ชัดเจน ทางบริษัทฯ ไม่มีนโยบายรับจ้างทำสาร และเก็บเงินล่วงหน้าก่อน รวมทั้งขายสาร เพราะกล้าขายเอากำไรจากเกษตรกร บริษัทผลิตและแปรรูป สร้างมูลค่าจากผลิตภัณฑ์จากไม้กฤษณา ส่งออกต่างประเทศ นำเงินตราต่างประเทศ คือ กำไร (ห้ามลอกเลียนแบบ จดสิทธิบัตร)